หน้าแรก

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565

 

นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์

ประเภทของนม

นมสด (Fresh Milk) คือนมสดธรรมดาที่บรรจุในกระป๋อง ข้างฉลากระบุว่าเป็นนมโค 100%

นมพร่องมันเนย (Low Fat Fresh Milk) คือ นมที่สกัดแยกมันเนยออกเพียงบางส่วน ทำให้มีพลังงานต่ำ และมีปริมาณไขมันเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นนมที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุหรือคนทั่วไปที่มีปัญหาเรื่อง ความอ้วนหรือมีไขมันในเส้นเลือดสูง

นมขาดมันเนย (Non Fat Milk) คือ นมที่แยกมันเนยออกเกือบทั้งหมด เหมาะสำหรับกลุ่มผู้บริโภคผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงไขมัน

นมแปลงไขมัน (Filled Milk) คือ นมพร้อมดื่มที่นำเอาไขมันชนิดอื่นมาแทนมันเนยเดิมที่อยู่ในน้ำนมเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น

นมปรุงแต่ง (Flavored Milk) คือ นมวัวหรือนมผงที่นำมาผ่านกรรมวิธีการผลิตต่างๆ และปรุงแต่งกลิ่น สี รสชาติเข้าไป ทำให้น่ารับประทานมากขึ้น

นมเปรี้ยว และ โยเกิร์ต (Drinking Yoghurt and Yoghurt) คือ นมที่หมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดพิษ และอาจจะมีการปรุงแต่งรสชาติ กลิ่น สีด้วยก็ได้

นมข้น (Condensed Milk) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด (1) นมข้นจืด คือ นมผงขาดมันเนยละลายน้ำในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปริมาณน้ำที่มีในนมสดธรรมดา ชนิดหนึ่ง ถ้าเติมน้ำมันปาล์มลงไปจะเรียกว่านมข้นแปลงไขมันชนิดไม่หวาน (ไม่ควรใช้กับเด็กทารกหรือเด็กอายุไม่ต่ำกว่า 2 ปี เพราะมีกรดไขมันจำเป็น วิตามินบางชนิดต่ำกว่า) แต่ถ้าเติมไขมันเนยลงไปจะเรียกว่า นมข้นคืนรูปไม่หวาน (2) นมข้นหวาน คือ นมที่ระเหยเอาน้ำบางส่วนออก หรือละลายนมผงขาดมันเนยผสมกับไขมันเนยหรือไขมันปาล์ม แล้วเติมน้ำตาลลงไปประมาณ 45% ซึ่งนมชนิดนี้จะมีน้ำตาลในปริมาณสูง และมีโปรตีนน้อยกว่านมสดมาก จึงไม่เหมาะสำหรับเด็กทารก หรือนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการเสริมคุณค่าทางอาหารเหมือนนมสดธรรมดา

การเก็บรักษานม

นมพาสเจอร์ไรส์ ซื้อ มาแล้วควรเก็บแช่ในตู้เย็นทันที เมื่อเอาออกมาดื่มถ้าเหลือให้รีบเก็บทันที โดยจะสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 10 วัน ในอุณหภูมิ 2-5 องศาเซลเซียส นับจากวันผลิต

นมสเตอริไรส์ (นมกระป๋อง) สามารถเก็บไว้ได้นาน 12 เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็น แต่ทั้งก็ไม่ควรจะถูกแสงแดดโดยตรง

นมยูเอชที (UHT) เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่ควรโดนแสงแดด ไม่เก็บไว้ซ้อนกันหลายๆชั้น โดยจะสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 6 เดือน

นมเปรี้ยว ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และปิดฝาให้สนิท นมชนิดนี้สามารถเก็บไว้ได้นานกว่านมประเภทอื่น เพราะมีกรดแลคติคที่ช่วยในการถนอมอาหาร

นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเตอร์ไรซ์ เก็บไว้ในตู้เย็นในอุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส โดยจะเก็บได้นานถึง 3 สัปดาห์หรือ 21 วัน

นมเปรี้ยวพร้อมดื่มยูเอชที สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 8 เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็น

แหล่งอ้างอิง : กรมปศุสัตว์

9 ประโยชน์ของนม

1.ช่วยพัฒนาการทางร่างกายและสมองของเด็กๆ

2.ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด และเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง

3.ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย

4.ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง

5.ช่วยทำให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

6.ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

7.ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย

8.ช่วยบำรุงประสาท และบำรุงหัวใจ

9.ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค

ข้อมูลอ้างอิงจาก wikipedia, www.dpo.go.th

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

วันหัวใจโลก World Heart Day

 29 ก.ย. "วันหัวใจโลก" World Heart Day

หัวใจเป็นเรื่องที่ต้องดูแล ดูแลหัวใจของคุณ เพื่อคนที่คุณรักและตัวคุณเอง

          ตรงกับวันที่ 29 ก.ย.ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ของคนไทยและคนทั่วโลก



วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565

พืชผัก 9 ชนิด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

พืชผัก 9 ชนิด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด น้ำตาลสูงเกินไปไม่ดีต่อร่างกาย อยากให้ลดลงมา ต้องกินพืชผักเพื่อช่วยเสริมสร้างสมดุลในร่างกายและยังมีสารอาหารหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

1. มะระขี้นก ช่วยเพิ่มการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลของตับ กระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาล

2. ใบชะพลู ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด และช่วยกระตุ้นการนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้

3. ตำลึง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ

4. กะเพรา ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในระดับสูงเล็กน้อยจนถึงระดับปานกลาง ช่วยให้กลไกควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ

5. ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น สามารถลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน

6. กระเจี๊ยบเขียว ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล และลดคอเลสเตอรอลในเลือด

7. มะเขือพวง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ และต้านอักเสบ

8. ผักเชียงดา ช่วยยับยั้งการขนส่งน้ำตาล ชะลอการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็ก

9. ใบหม่อนหรือมัลเบอร์รี ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และลดคอเลสเตอรอล มีสารต้านอนุมูลอิสระ


เลยแวะมาบอก...

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565

บริการแนะนำข้อมูลสินค้า

  บริการแนะนำข้อมูลสินค้า  Product information service